ข้ามไปเนื้อหา

เมธา เอื้ออภิญญกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมธา เอื้ออภิญญกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 เมษายน พ.ศ. 2470
จังหวัดแพร่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2560 (89 ปี)
จังหวัดแพร่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติไทย (2535–2539)
คู่สมรสธีรวัลย์ กันทาธรรม

เมธา เอื้ออภิญญกุล (23 เมษายน พ.ศ. 2470 - 21 มกราคม พ.ศ. 2560) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ และเป็นบิดาของ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และ ปานหทัย เสรีรักษ์[1] เป็นนักธุรกิจใบยาสูบรายใหญ่ของภาคเหนือ[2]

ประวัติ[แก้]

เมธา เอื้ออภิญญกุล เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายสมบูรณ์ นางบุญธรรม เอื้ออภิญญกุล เกิดที่บ้านเด่นชัย ตำบลเด่นชัย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (ปัจุบันคือ อำเภอเด่นชัย) นายเมธาสมรสกับ นางธีรวัลย์ กันทาธรรม มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ เมธี เอื้ออภิญญกุล ปานหทัย เสรีรักษ์ (สมรสกับนายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์) องอาจ เอื้ออภิญญกุล และ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล[2] [3]

เมธา จบการศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลเด่นชัย เข้าเรียนชั้นมัธยมจนถึงชั้น ม.2 จากโรงเรียนเจริญราษฎร์ และจบชั้นมัธยมต้น ที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเรียนชั้น ม.4 ที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน เรียนต่อที่โรงเรียนจีนหวังเหวินในกรุงเทพฯ จากนั้นก็เรียนต่อภาษาจีน จนกระทั่งจบ ม.8 ต่อมาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้[2][4]

เมธา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่[2]

การทำงาน[แก้]

เมื่อจบการศึกษาแล้ว นายเมธา ได้กลับมาประกอบธุรกิจสาขาของธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับเพื่อนสนิทคือ เกรน ประชาศรัยสรเดช (สามีของเจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช) ทำธุรกิจใบยาสูบซึ่งเป็นกิจการของภรรยา ทำให้เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ ณรงค์ วงศ์วรรณ และศานิต ศุภศิริ (บิดาของศิริวรรณ ปราศจากศัตรู)[5] เป็นผู้ริเริ่มนำเอาถ่านหินมาทำการบ่มใบยาแทนฟืน เพื่อทำให้การตัดไม้ทำลายป่าลดลง [4]ต่อมาเมื่อกิจการขยายขึ้น จึงได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) [2]

งานการเมือง[แก้]

เมธา เอื้ออภิญญกุล เข้าสู่งานการเมืองโดยการชักชวนของพลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ หัวหน้าพรรคธรรมสังคม และเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในนามพรรคธรรมสังคม และยังได้รับแต่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช) ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ[2] ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ของณรงค์ วงศ์วรรณ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ในนามพรรคชาติไทย

เมธา เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[4] เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา) ในปี พ.ศ. 2543

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 แพร่สูญเสียอดีตส.ส.พ่อเลี้ยงเมธา พ่ออดีตส.ส.วรวัจน์ –ปานหทัย ด้วยโรคชรา 89 ปี
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางปานหทัย เสรีรักษ์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  4. 4.0 4.1 4.2 "ข้อมูลจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 7 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2020-05-24.
  5. พัฒนาการกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง วารสารพัฒนศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙